ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา มะตาด, ส้านใหญ่
มะตาด, ส้านใหญ่
Dillenia indica L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Dilleniaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Dillenia indica L.
 
  ชื่อไทย มะตาด, ส้านใหญ่
 
  ชื่อท้องถิ่น - ตึครือเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), ลำส้าน(ลั้วะ), ไม้ส้านหลวง(ไทใหญ่), เปียวกับ(เมี่ยน) - สมปรุ, ส้านกวาง, ส้านท่า, ส้านใหญ่; ส้านป้าว (เชียงใหม่); แส้น (นครศรีธรรมราช, ตรัวง). [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น, ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่, สูง 10 – 20 ม., ไม่ผลัดใบ, ลำต้นมักคองอ, เปลือกหนา, สีเทา หรือ น้ำตาลแดง, ลอกออกเป็นแผ่นบาง ๆ ; เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหนา, มีขนตามกิ่งอ่อน; เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน.
ใบ รูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปไข่กลับรี ๆ, กว้าง 7 – 12 ซม., ยาว 15 – 30 ซม.; เนื้อใบค่อนข้างบาง, ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ , ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย, โคนใบเรียวหรือมน, ท้องใบมีขนประปราย; เส้นแขนงใบตรง, มี 30 – 40 คู่; ก้านใบยาว 4 – 5 ซม., โคนก้านใบแผ่ออกเป็นกาบหุ้มกิ่ง.
ดอก ใหญ่, สีขาว, ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ, ก้านออกยาว 3 – 5 ซม., มีขนสาก; กลีบรองกลีบดอกโค้งเป็นรูปซ้อน, อุ้มน้ำ; กลีบดอกสีขาว, บาง, รูปไข่กลับ, ร่วงง่าย, รังไข่มี 20 ช่อง,
ผล กลมใหญ่, เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 – 15 ซม. [6]
 
  ใบ ใบ, ลำต้นมักคองอ, เปลือกหนา, สีเทา หรือ น้ำตาลแดง, ลอกออกเป็นแผ่นบาง ๆ ; เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหนา, มีขนตามกิ่งอ่อน; เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน.
ใบ รูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปไข่กลับรี ๆ, กว้าง 7 – 12 ซม., ยาว 15 – 30 ซม.; เนื้อใบค่อนข้างบาง, ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ , ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย, โคนใบเรียวหรือมน, ท้องใบมีขนประปราย; เส้นแขนงใบตรง, มี 30 – 40 คู่; ก้านใบยาว 4 – 5 ซม., โคนก้านใบแผ่ออกเป็นกาบหุ้มกิ่ง.
 
  ดอก ดอก ใหญ่, สีขาว, ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ, ก้านออกยาว 3 – 5 ซม., มีขนสาก; กลีบรองกลีบดอกโค้งเป็นรูปซ้อน, อุ้มน้ำ; กลีบดอกสีขาว, บาง, รูปไข่กลับ, ร่วงง่าย, รังไข่มี 20 ช่อง,
 
  ผล ผล กลมใหญ่, เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 – 15 ซม. [6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสด จิ้มน้ำพริก, ผลสุก รับประทานได้(กะเหรี่ยงแดง)
ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ,ไทใหญ่)
- เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน(ไทใหญ่)
- ราก ใช้เข้าเครื่องยา, ช่วยถอนพิษไข้
เปลือก และ ใบ น้ำต้มกินเป็นยาฝาดสมาน, ระบาย และลดไข้
ผล กินได้, มีรสเปรี้ยว, ช่วยบำรุงร่างกาย, ลดไข้, เป็นยาระบาย และแก้ปวดท้อง
ผลสุกรสหวานอมเปรี้ยว , น้ำคั้นประสมน้ำตาล, กินเป็นยาเย็น, ลดไข้, แก้ไอ และขับเสมหะ
น้ำยางจากผลดิบใช้สระผมได้ [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง